ปลาหมอสี 2

ปลาหมอสี หรือฟลาวเวอร์ฮอร์น เป็นปลาสวยงามที่มีความอดทนค่อนข้างสูง กินอาหารง่าย ปรับตัวได้ดี เป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลาบ้านเรา ก่อนที่จะเข้ามาสู่ตลาดเอเชียนั้นได้รับความสนใจและนิยมเลี้ยงกันในแถบอเมริกา ยุโรปกันก่อนแล้ว เพราะปลาหมอสีเป็นปลาตู้ที่เลี้ยงง่าย มีสีสันโดดเด่น สวยงาม และแปลกตา

แหล่งกำเนิดของ ปลาหมอสี

ปลาหมอสีมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ตามลุ่มน้ำหรือทะเลสาบในต่างประเทศ มีนิสัยค่อนข้างรักถิ่นฐาน หากมีปลาอื่นบุกรุกเข้ามาในเขตของมัน มันก็จะขับไล่ผู้บุกรุกออกไป ปลาหมอสีเป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ ทะเลสาบ หนองบึ่ง คูคลองต่างๆ โดยมีแหล่งกำเนิดจาก 2 กลุ่มใหญ่ๆ ในโลก คือ

กลุ่ม New world  ปลาหมอสีที่พบในส่วนของโลกใหม่ ได้แก่ แถบอเมริกากลาง-ใต้ เช่น แท๊กซัสตอนใต้ ลงมาจนถึงอาเจนตินาของอเมริกาใต้, คอสตาริกา, นิการากัว, บราซิล, ลุ่มแม่น้ำอเมซ่อน, เกาะมาดากาสการ์ , เกาะศรีลังกา, ชายฝั่งทะเลตอนใต้ของอินเดีย ฯลฯ

กลุ่ม Old world  ปลาหมอสีที่พบในส่วนของโลกเก่า ได้แก่ แถบแอฟริกาใต้, ในทะเลสาบมาลาวี (Lake Malawi ), ทะเลสาบแทนกานยิกา (Lake Tanganyika ), ทะเลสาบวิคตอเลีย(Lake Victoria), แถบแทนซาเนีย ฯลฯ

ลักษณะนิสัยของ ปลาหมอสี และการเลี้ยงดู

การเลี้ยงดูปลาหมอจัดได้ว่าเป็นปลาที่มีความอดทนค่อนข้างสูง กินอาหารง่าย จำพวกอาหารสด ลูกกุ้ง ไรทะเล ไส้เดือน หนอนแดง หรืออาหารสำเร็จรูปและการถ่ายน้ำเต็มที่ 1 เดือนให้ถ่ายน้ำได้ 1 ครั้ง หรืออาทิตย์หนึ่งให้ถ่ายน้ำ ออก10% เพื่อเปลี่ยนสภาพของน้ำให้มันดีขึ้น มีลักษณะนิสัยของปลาหมอสีเป็นปลาที่จัดได้ว่าค่อนข้างรักถิ่น หวงที่อยู่ ดังนั้นจึงมีความก้าวร้าวอยู่พอสมควร และถ้าหากมีปลาตัวอื่นหลงเข้าไปในถิ่น หรือที่ที่ปลาหมอสีได้สร้างอาณาจักรเอาไว้ก็จะโดนไล่กัดทันที และนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่สร้างปัญหาให้กับผู้เลี้ยงมือใหม่อยู่ไม่น้อย

อาหารของ ปลาหมอสี

สามารถปรับตัวได้ดีกินอาหารได้ทุกประเภท แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมไขมันจากเนื้อสัตว์ เพราะไขมันจะไปทำลายตับของปลาเหล่านี้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปลาที่เลี้ยงตาย ฉะนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยงควรมีส่วนผสมที่ใกล้เคียงกับอาหารธรรมชาติมากที่สุด ปลาหมอสีกินพืช ควรเลี้ยงอาหารปลากินพืช พวกปลากินสัตว์ เช่น กุ้ง ไรน้ำเค็ม หรืออาหารสำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงกับอาหารสำเร็จรูปที่ใช้โดยทั่วไป

ควรมีส่วนประกอบของกากถั่ว กุ้ง สาหร่ายเกลียวทอง ปริมาณอาหารไม่ควรให้เกินความต้องการของปลา จะทำให้ปลาอ้วนและอ่อนแอ ในกรณีเลี้ยงเพื่อการเพาะพันธุ์ ถ้าให้อาหารมากเกินไปจะทำให้ปลาไม่มีไข่และน้ำเชื้อ

ธรรมชาติของปลาหมอสีเป็นปลาที่อดทน สามารถอดอาหารนับสิบวัน หากท่านไม่อยู่บ้าน 5 – 10 วัน ปลาก็สามารถอยู่ได้อย่างปกติ แม้ว่าในแหล่งน้ำธรรมชาติมีอาหารจำกัด โดยเฉพาะแม่ปลาที่ฟักไข่ด้วยปาก ต้องอมไข่จนไข่ฟักเป็นตัว และอมต่อไปจนกระทั่งลูกปลาสามารถว่ายน้ำออกจากปาก เพื่อหากินอาหารต่อไป ซึ่งใช้เวลาอีก 15-20 วัน ในระยะนี้แม่ปลาจะไม่กินอาหารใดๆ ทั้งสิ้น

สายพันธุ์ที่น่าสนใจของ ปลาหมอสี

สกุลแอริสโทโครมิส

สกุลออโลโนคารา

สกุลโคพาไดโครมิส

สกุลลาบิโอโทรเฟียส

ปลาหมอสีเป็นปลาสวยงามอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่น จากนักเลี้ยงปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นเป็นงานอดิเรกถึงแม้ว่าปลากลุ่มนั้นส่วนใหญ่เป็นปลานำเข้าจากทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาใต้และกลุ่มประเทศอเมริกากลาง จัดอยู่ในวงศ์ชิลคลิดี การแพร่กระจายของปลาวงศ์นี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของสิ่งแวดล้อมดังเช่น ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยทะเลสาบ แม่น้ำลำธาร หนองบึง จึงส่งผลให้ปลามีความหลากหลายทั้งชนิด สายพันธุ์ รูปร่าง และการดำรงชีวิต ซึ่งมีทั้งปลาบริโภคและปลาสวยงาม ได้แก่ ปลานิล ปลาหมอเทศ ปลาปอมปาดัวร์ ปลาเทวดา ปลาออสการ์ ฯลฯ ปลาเหล่านี้สามารถปรับตัวได้ดี จัดเป็นปลาเลี้ยงง่าย

ปลาหมอสี 1

แนวทางในการเลี้ยงปลาหมอสี

  1. น้ำต้องสะอาดไม่ควรมีเชื้อโรค ห้ามใช้น้ำประปาที่เปิดจากก๊อกน้ำโดยตรง เฉพาะคลอรีนและปูนที่อยู่ในน้ำจะฆ่าปลาได้ในเวลาอันรวดเร็วควรพักน้ำประปาไว้สัก 2-3 วันจึงนำมาใช้
  2. ใช้เครื่องกรองน้ำซึ่งหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปเลือกให้เหมาะกับขนาดของตู้
  3. ขนาดของตู้เลี้ยงควรจะใหญ่สักหน่อย ถ้าเลี้ยงพวกหมอสีพันธุ์เล็ก ความยาวของตู้ไม่ควรต่ำกว่า 24 นิ้ว ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 36 นิ้ว ควรมีสัก 2 ตู้ เพื่อเป็นตู้พักปลา 1 ตู้ ตู้เลี้ยง 1 ตู้
  4. อาหารปลาหมอสีกินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งเราหาซื้อได้ทั่วไปแต่ถ้าที่บ้านใกล้แหล่งเพาะยุงหรือใกล้บริเวณที่มีลูกน้ำลูกไรมาก และหาได้สะดวกก็ให้ลูกน้ำ ลูกไร เป็นอาหารจะดีมากทั้งประหยัดเงินและมีอาหารที่มีคุณค่าดี
  5. ก้อนหิน ก้อนกรวด พันธุ์ไม้น้ำที่เราคิดว่าจะจัดลงไปในตู้นั้นควรจะทำความสะอาดให้ดี ก้อนหินก็ควรจะแช่น้ำลดความเป็นด่างลงพันธุ์ไม้น้ำก็ควรจะพักไว้ในถังหรือตู้อื่นๆ รอจนมันฟื้นตัวได้แล้วค่อยนำมาจัดในตู้
  6. ตู้ปลาควรจะตั้งอยู่ใกล้กับที่พักน้ำเพื่อเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาได้สะดวก ปัญหานี้ดูเหมือนเล็กแต่ก็มีหลายๆรายที่เลิกเลี้ยงปลา เพราะต้องเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบางรายถึงขั้นทะเลาะกันเพราะเกี่ยงกันเปลี่ยนน้ำตู้ปลา บางรายถูกคำสั่งห้ามเลี้ยงหลังจากการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาผ่านไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เพราะขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลาบริเวณระหว่างที่พักน้ำกับตู้ปลาจะกลายเป็นเขตอันตรายสูงสุดต่อชีวิตของคนแก่และเด็ก รวมทั้งสตรีมีครรภ์ไปในทันที การลื่นหกล้มในบริเวณนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก
  7. เวลา ถ้าต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้าครึ่งและกลับถึงบ้านประมาณไม่ถึงสี่ทุ่มดีในวันปกติ วันเสาร์ต้องตื่นสิบโมงเช้าเพื่อนอนชดเชยพอตื่นก็ต้องทำงานบ้านจิปาถะที่ค้างตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ แล้วก็ขอแนะนำว่าไปปลูกต้นไม้ดีกว่าเพราะปลาที่เลี้ยงไว้นั้นมันพากันตายหมดแล้ว ก่อนเลี้ยงปลาต้องถามตัวเองก่อนว่ามีเวลาไหม และคนรอบข้างจะยินดีไหมที่จะเลี้ยงปลา เพราะคนรอบข้างนั้นก็คือคนงานขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลา ถ้าเกิด คนงานสไตรท์ขณะเปลี่ยนน้ำไปได้ครึ่งเดียว ภาระทั้งหมดก็จะอยู่ที่คนเดียวจริงๆ

โรคที่อาจเกิดขึ้นในปลาหมอสี

  1. โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก

อาทิเช่น โรคที่เกิดจากเห็บระฆัง ซึ่งจะทำให้ปลามีอาการแสดงความรำคาญ โดยการถูตัวกับตู้ปลาหรือหิน จะมีเม็ดกลมแบนเกาะติดอยู่ทั่วไป บริเวณที่เห็บเกาะจะแดงช้ำ โรคเห็บหนอนสมอ โรคเมือกตามตัวและเหงือกอักเสบ โรคที่เกิดจากปลิงใส ทำให้ปลาหายใจลำบาก หายใจถี่ สังเกตบริเวณกระพุ้งแก้มเปิด โรคจุดขาว โดยตามลำตัวและครีบของปลามีจุดขาวเกาะอยู่ เกิดจากอุณหภูมิของน้ำเย็น

การรักษา แช่น้ำยาฟอร์มาลีนในอัตรา 2.5 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือใช้เมทีลีนบลูในอัตรา 0.4-0.8 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ไว้ 24 ชม. หรือแช่น้ำที่มีเกลือแกงเข้มข้น 1 % แช่นาน 12-24 ชม. ส่วนโรคจุดขาว ควรเพิ่มอุณหภูมิน้ำชั่วโมงละ 1 องศาเซลเซียส และคงที่ที่ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 วัน

การป้องกัน ก่อนที่จะนำปลาใหม่เข้าตู้ ควรนำปลากักโรคก่อนโดยใช้ยาข้างต้น แช่รวมทั้งอาหารสดที่จะนำมาให้ปลากิน

  1. โรคที่เกิดจากเชื้อรา

ทำให้ปลามีขุยบางๆ คล้ายสำลีหรือเส้นใยตามบริเวณขอบแผล หรือตามตัวรวมทั้งครีบ มีอาการกร่อนและมีสีขาว ตามปลายครีบและหาง

การรักษา ใช้พาลาไดร์ทกรีน ที่ความเข้มข้น .01 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตร แช่นาน 24 ชม.

การป้องกัน ต้องดูแลสภาพภายในตู้ไม่ให้สกปรก หรือหมักหมมของเสีย และเปลี่ยนน้ำ ถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ

  1. โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

ปลามีอาการไม่ค่อยกินอาหาร การเซื่องซึม สีผิดปกติ ว่ายน้ำเชื่องช้า ว่ายอยู่ตามมุมตู้ หายใจลำบาก มีเลือดออกตามตัว ครีบกร่อน มีแผลตามตัว ท้องบวมเนื่องจากกระเพาะลำไส้อักเสบ(ปลากินอาหารที่มีแบคทีเรีย)

การรักษา ใช้ยาฟารากรีนผสมในน้ำ ปิดไฟตู้ (ยามีปฏิกริยากับแสงสว่าง) ทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชม. หรือนำปลาไปพบสัตว์แพทย์ตรวจ ก่อนการใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยาปฏิชีวนะมีหลายชนิดและป้องกันเชื้อดื้อยา การให้ยาปฏิชีวนะทำได้โดยผสมกับอาหารให้ปลากินหรือใส่ลงไปในน้ำ

การป้องกัน รักษาอุณหภูมิให้คงที่ (เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ในอุณหภูมิสูง) ความเป็นกรดด่างของน้ำ (ควรมีค่า PH ต่ำ) การให้อาหารโดยไม่มีอาหารเหลือ ไม่ควรมีปริมาณปลาในตู้มากเกินไป เพราะจะทำให้ปลากัดกันและทำให้เกิดบาดแผล

ส่วนในประเทศไทยนั้น ปลาหมอสีเริ่มมีคนรู้จักและเป็นที่แพร่หลายเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มมีการที่นิยมเลี้ยงเพื่อความสวยงามมากขึ้น และเริ่มมีการประกวดแข่งขันกันเกิดขึ้นอีกด้วย จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งจัดได้ว่าปลาหมออยู่ในช่วงที่ค่อนข้างบูมมาก และเริ่มเป็นที่รู้จักกันในหมู่นักเลี้ยงปลาพอสมควร


ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://babe369.com/
สนับสนุนโดย  ufabet369
ที่มา www.kroobannok.com