ความเครียด มักเป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้าย เพราะความเครียดไม่ได้ส่งผลร้ายต่อจิตใจเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพกายอีกด้วย ดังนั้นหากรู้สึกว่าตนเองเครียดมากเกินไป ควรหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำสมาธิ ทำอาหาร เพื่อช่วยลดความเครียด พร้อมจัดตารางการทำงานและวางแผนการทำงานล่วงหน้าโรคเครียดลงกระเพาะ มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 18-35 ปี เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่อาจจะมีความเครียดมาก ความเครียดที่สะสมในแต่ละวันเป็นตัวการที่ไปกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะกำเริบ และส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติไปด้วย

ทำไมเครียดแล้วลงกระเพาะ
– ระบบประสาทอัตโนมัติไปกระตุ้นต่อมหมวกไต ให้หลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน
– ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนเร่งปฏิกิริยาการเผาผลาญอาหารออกมามาก ทำให้นอนไม่หลับและหิว
– ความเครียดทำให้การทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้หยุดชะงักลง

อาการเครียดลงกระเพาะ
1.ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ ตอนท้องว่าง
2.เสียดหน้าอก อาหารไม่ย่อย
3.รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
4.แน่นท้อง ท้องอืด เรอเหม็นเปรี้ยว
5.นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท

การรักษาอาการเครียดลงกระเพาะ
โรคกระเพาะอาหารสามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการดูแลรักษาที่ดี และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังมีอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกวิธี

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการเครียดลงกระเพาะ
1. เมื่อรู้สึกว่ามีภาวะเครียดให้ทำกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นการผ่อนคลายตัวเอง เช่น ฟังเพลง วาดรูป ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ หรือนั่งสมาธิ
2. รับประทานอาหารให้ตรงเวลาและครบทั้ง 3 มื้อ
3. ออกกำลังกายเป็นประจำ
4. งดการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
5. ป้องกันความเครียดโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ปรับตารางทำงานให้สมดุล มีเวลาพักผ่อน และออกกำลังกายอย่างเพียงพอ
6. ควรปรึกษาแพทย์หากมีอุจจาระปนเลือด น้ำหนักลด อาเจียนบ่อย มีอาการที่รุนแรง รบกวนคุณภาพชีวิต หรือจัดการความเครียดไม่ได้

 

ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่  babe369.com