เหตุค่าแรงพุ่ง ในเวียดนาม จึงส่งผลให้ Samsung ลดการผลิต และย้ายไลน์ผลิตตัวเรือธง กลับเกาหลี
ความเนื้อหอม ของเวียดนาม ความน่าดึงดูดเริ่มลดลงเรื่อยๆ เหมือนคาถาเรียกนักลงทุน เสื่อมมนต์คลังลง จนนักลงทุนเริ่มติดสินใจถอยออกมา ซึ่งถือว่า ค่อนข้างเป็นข่าวใหญ่ ในประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นกระแสถกเถียงกันพอสมควร เมื่อบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ของเกาหลีใต้อย่าง Samsung Electronics ที่ได้เข้ามาลงทุน ในเวียดนามอยู่หลายปี
เป็นฐานการผลิตในด้าน การผลิตแท็บเล็ต และสมาร์ตโฟน ส่งออกจำหน่ายในหลายประเทศทั่วโลก กำลังเตรียม ลดการผลิตลงถึง 40% และย้ายไลน์การผลิตกลับประเทศตัวเอง แห่งใหม่ใน จังหวัดคยองซังเหนือ โดยจะใช้ที่นี้เป็นฐานการผลิต สินค้ารุ่นเรือธง โดยเฉพาะที่เป็นรุ่นจอพับ ที่กำลังเป็นที่นิยม อย่าง Samsung Galaxy S , Galaxy Z Fold4 และ Galaxy Z Fold
ซึ่งยืนยันแล้วว่า Galaxy S23 สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดที่กำลังจะเปิดตัว จะใช้โรงงานที่เกาหลีใต้ผลิตแทนที่จะเป็นเวียดนาม สาเหตุที่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ จะย้ายไลน์การผลิตกลับไปยังประเทศบ้านเกิด ก็เพราะต้องการระจายความเสี่ยง ซึ่งกระจุกตัวอยู่ที่เวียดนามมากกว่า 50% อีกทั้งต้องการรักษาระบบการผลิตในประเทศเกาหลี สำหรับผลิตภัณฑ์เรือธง
และเสริมสร้างบทบาทในฐานะฐานการผลิตหลักของ Samsung
ส่วนในเวียดนามจะยังคงสัดส่วนการผลิตสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตพีซี และฟีเจอร์โฟน รุ่นรองลงมาในบางรุ่น ก่อนจะลดกำลังการผลิตลงให้เหลือเพียง 40% ในปี 2023 จากเดิมที่ปี 2021 ครองสัดส่วนการผลิตสินค้าของบริษัทมากถึง 60% เหตุผลประการต่อมาที่บริษัท ต้องลดสัดส่วนเวียดนามในลง และกระจายการผลิตไปทั่วโลก
ก็เพื่อลดความเสียหายให้น้อยที่สุด ในกรณีที่เกิดปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เช่น โรคระบาด เป้าหมายคือการสร้างระบบที่เปิดใช้งาน การผลิตทดแทนอย่างรวดเร็วในภูมิภาคอื่นๆ หากว่าโรงงานแห่งใดแห่งหนึ่งจะต้องหยุด ดำเนินการผลิตหรือปิดตัวลง Samsung จะยังให้โรงงานในประเทศอื่นๆ กระจายกำลังการผลิตให้กับซัพพลายเออร์รายใหญ่ได้
ในช่วงที่ผ่านมา จากยอดจัดส่งสมาร์ทโฟนโดยรวมลดลง อัตราการผลิตของโรงงานในเวียดนามซึ่งมีกำลังการผลิตสูงสุดก็ลดลงตามไปด้วย เมื่อเร็วๆ นี้ Samsung ได้ลดอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงงานในเวียดนามลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อ่อนแอลง
Samsung ต้องปรับแผนเพื่อตั้งเป้าหมายการผลิตสมาร์ทโฟนอย่างระมัดระวังสำหรับปีหน้าที่ 300 ล้านเครื่องหรือน้อยกว่านั้น และด้วยอัตราการเติบโต ของเศรษฐกิจเวียดนามในช่วงที่ผ่านมา ทำให้อัตราค่าแรงของแรงงานเวียดนามเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา นาย Pham Minh Binh รองนายกรัฐมนตรี
ได้ลงนามในข้อตกลงของสภาค่าจ้างแห่งชาติ ปรับขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ เฉลี่ย 6% ทั่วประเทศ
นับเป็นการขึ้นค่าแรงในรอบ 2 ปี ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากภาคธุรกิจ เนื่องจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาพลังงานพุ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่กระทบต่อเนื่องไปยังเวียดนามที่เป็นศูนย์กลางภาคการผลิตในอาเซียน ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตสินค้า สำหรับประเทศที่เข้าไปลงทุน ทำให้บริษัทกำลังแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป
ส่งผลให้ผลกำไรลดลง ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจและกำลังซื้อภายในประเทศ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องลดกำลังการผลิตลง ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้จะต้องมี การลดจำนวนแรงงานลงไป โดยปริยาย หรือจะมีแรงงานตกงานเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน Samsung มีโรงงานหกแห่งในเวียดนามทั้งในจังหวัด บักนิน ไทยเหงียน และนครโฮจิมินห์ซิตี้ รวมทั้งมีศูนย์วิจัย และพัฒนาในกรุงฮานอย.
การลดกำลังการผลิตในเวียดนาม ส่งผลให้ประเทศอื่นๆ ที่มีโรงงานของ Samsung อาจได้รับประโยชน์นี้ เพราะจะต้องมีการกระจายกำลังการผลิตไปยังอินเดีย อินโดนีเซีย และละตินอเมริกา โดยเฉพาะอินเดียที่เป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับ 2 มีสัดส่วนที่ 21% ส่วนบราซิล 7% อินโดนีเซีย 3% และตุรกี 1%
สำหรับ Samsung ถือเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ตามข้อมูลจากกระทรวงการวางแผนและการลงทุน ปัจจุบันมีการลงทุนทั้งหมดในเวียดนามมากกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 71,890 ล้านบาท ขณะที่รายได้ของ Samsung Vietnam ในปี 2021 จะสูงถึง 7,400 ล้านดอลลาร์ หรือราว 265,993 ล้านบาท คิดเป็น 20% ของ GDP เวียดนาม
ซึ่งนับว่ามีสัดส่วนมากที่บริษัทแห่งหนึ่งสามารถสร้างรายได้มหาศาล จนมีอิทธิพลสูงมากต่อเศรษฐกิจของประเทศแห่งหนึ่ง
เวียดนามเสี่ยงดึงเงินลงทุนต่างชาติคุณภาพต่ำ
แม้เวียดนามจะเนื้อหอม และดึงดูการลงทุนจากต่างชาติ อย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ต้องยอมรับว่า อุตสาหกรรมที่เข้ามาลงทุนนั้น ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มีเทคโนโลยีขั้นสูง เนื่องจากคุณภาพและค่าแรงของแรงงานเวียดนาม ยังไม่เข้าขั้นที่จะดึงดูดเทคโนโลยีระดับที่สูงขึ้นได้ ข้อมูลจากสถาบันเวียดนาม
เพื่อการวิจัยเศรษฐกิจและนโยบาย ได้ออกคำเตือนว่าเวียดนามกำลังเสี่ยงที่จะกลายเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับโครงการต่างประเทศคุณภาพต่ำ รายงานระบุเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ระบุว่า นักลงทุนต่างชาติ เริ่มมีการปรับรูปแบบการลงทุน และการผลิตไปสู่แนวทางการอนุรักษ์ และยั่งยืนมากขึ้นภายในประเทศต้นทาง กำลังนำการลงทุนที่คุณภาพต่ำ
หรือใช้ฝีมือแรงงานคุณภาพต่ำ เข้าสู่เวียดนามมากขึ้น ซึ่งสามารถดึงดูดโครงการลงทุน ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการประกอบที่เรียบง่าย แต่มูลค่าเพิ่มต่ำ ในรายงานที่เกี่ยวกับการลงทุน ของยุโรปในเวียดนามท่ามกลางการดำเนินการ ตามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรป-เวียดนาม และข้อตกลงคุ้มครองการลงทุนของสหภาพยุโรป-เวียดนาม VEPR
กล่าวว่า เวียดนามมีโอกาสที่ดีในการดึงดูด FDI จากสหภาพยุโรปเนื่องจากนโยบาย “จีน + 1” ที่บริษัทต่างชาตินำมาใช้และการลงนามข้อตกลงการค้าอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม มันเตือนว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก และความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์อาจทำให้นักลงทุน รวมทั้งชาวยุโรปวิตกกังวล
เมื่อนักลงทุนระมัดระวังการลงทุนในต่างประเทศ การแข่งขันระหว่างประเทศเพื่อดึงดูด FDI จะรุนแรง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จำนวนและมูลค่าของโครงการโดยนักลงทุนยุโรปในเวียดนามเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยตั้งแต่ 2-5% ของการลงทุนภายนอกทั้งหมดของสหภาพยุโรป
นอกจากนี้ รายงานยังชี้ว่า โครงการส่วนใหญ่ของพวกเขาในเวียดนามมีขนาดเล็ก และไม่ได้ลงทุนในพื้นที่อื่นๆ ดังที่สหภาพยุโรปจะลงทุนในประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล กำลังลดการลงทุนของสหภาพยุโรปในเวียดนามได้เช่นกัน นักลงทุนต่างชาติเคยชอบให้เวียดนาม ใช้แรงงานราคาถูกและทรัพยากรธรรมชาติ
แต่ตอนนี้ ท่ามกลางการปฏิวัติทางเทคโนโลยี พวกเขากำลังมุ่งเน้นไปที่ความรู้และเทคโนโลยี ซึ่งเป็น 2 ด้านที่เวียดนามอ่อนแอ โดยชี้ไปที่ข้อบกพร่องของประเทศในแง่ของ แรงงานที่มีทักษะ ความสามารถทางเทคโนโลยีและการเงิน และคุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งเหล่านี้คุกคามที่จะทำให้เวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับโครงการ FDI ที่มีคุณภาพต่ำ
ทำให้เวียดนามตกอยู่ในวงจรของการลงทุนคุณภาพต่ำ อุตสาหกรรมง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ไม่ดึงดูดเทคโนโลยีขั้นสูง และวางให้อยู่ในตำแหน่งที่เสียเปรียบในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก
ขอบคุณแหล่งที่มา : facebook.com/reporterjourney
สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : babe369.com