โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ
โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานเป็นผลมาจากการขาดฮอร์โมน “อินซูลิน” หรือประสิทธิภาพการทำงานของ “อินซูลิน” ลดลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานสามารถแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้สองชนิด

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เลย หรือผลิตได้น้อยมาก และมักตรวจพบตั้งแต่วัยเด็ก หรือเริ่มเข้าวัยผู้ใหญ่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักต้องรับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบมากในผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ในประเทศไทย (ประมาณร้อยละ 95) และผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ทั่วโลก
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น ตับอ่อนยังคงผลิตอินซูลินได้ แต่อาจผลิตในปริมาณที่ไม่เพียงพอ เพราะอินซูลินที่ผลิตออกมาไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะดื้อต่ออินซูลิน

อาการของโรคเบาหวาน

ปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะกลางคืน
คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก
หิวบ่อย รับประทานจุแต่น้ำหนักลดลง และมีอาการอ่อนเพลีย
ถ้าเป็นแผลจะหายยาก มีการติดเชื้อตามผิวหนังบ่อย
ติดเชื้อรา โดยเฉพาะบริเวณช่องคลอด
ตาพร่ามัว
ชาปลายมือ ปลายเท้า

โรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาก มักพบในผู้ป่วยซึ่งการควบคุมเบาหวานไม่ดี อาจมีการติดเชื้อแทรกเป็นตัวกระตุ้น จะมีอาการของเบาหวานรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยอาจจะซึม จนกระทั่งหมดสติ บางรายมีอาการชักกระตุกเฉพาะที่ ถ้ามีภาวะเลือดเป็นกรดร่วมด้วย ผู้ป่วยจะหายใจหอบ

โรคแทรกซ้อนเรื้อรังมีอะไรบ้าง ..??

โรคแทรกซ้อนจากหลอดเลือดใหญ่ เกิดการตีบแคบของหลอดเลือด ทำให้เกิดอุดตันได้ง่าย ทำให้เกิดอาการตามแต่ที่หลอดเลือดผิดปกติ
โรคหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
อัมพฤกษ์และอัมพาตจากหลอดเลือดสมองอุดตัน
โรคความดันโลหิตสูง
ปวดน่องเวลาเดินนาน ๆ จากหลอดเลือดที่ขาตีบ หรือเกิดแผลจากขาดเลือด
โรคแทรกซ้อนจากหลอดเลือดฝอย
โรคแทรกซ้อนทางตา เช่น อาการตามัว เบาหวานขึ้นตา (retinopathy)
โรคแทรกซ้อนทางไต ทำให้ไตเสื่อม ไตวาย
โรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท คือ อาการชาตามเท้าและมือ หรืออาจมีอาการปวดก็ได้​

โรคแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการเป็นโรคและระดับการควบคุมเบาหวาน นั่นคือ ถ้ายิ่งเป็นโรคเบาหวานระยะนานหรือควบคุมระดับน้ำตาลได้ยิ่งไม่ดี ก็ยิ่งจะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนมากขึ้น แม้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการอะไรในระยะแรก แต่ถ้าได้รับการตรวจค้นวินิจฉัยและรักษา รวมถึงการดูแลตนเองให้ดีอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก จะช่วยลดและชะลอหรือแม้แต่ป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ได้

 

ใครควรได้รับการตรวจหาโรคเบาหวาน ..??

ผู้มีอาการของโรคเบาหวาน
ผู้ที่ไม่มีอาการ แต่อายุเกิน 40 ปี (ถ้าตรวจแล้วปกติให้ตรวจซ้ำทุก 3 ปี)
ผู้ที่ไม่มีอาการ แต่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ดังนี้
มี พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นโรคเบาหวาน
น้ำหนักตัวมาก ดัชนีมวลกาย ≥ 25 กก./ตารางฟุต
มีประวัติ “ความทนต่อกูลโคส” ผิดปกติ
ความดันโลหิตสูง (มากกว่า 140/90 มม.ปรอท)
ระดับไขมัน HDL-cholesterol ≤ 35 กก.ดล. และ/หรือระดับไตรกลีเซอไรด์ ≥ 250 มก.ดล.ในเลือด
คลอดบุตรที่มีน้ำหนักเกิน 4 กก. หรือเคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ออกกำลังกายน้อย
มีโรคของหลอดเลือด
มีภาวะสัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลิน : Polycystic ovarian syndrome, acanthosis nigricans

การดูแลตนเองเมื่อเป็นเบาหวาน

เรียนรู้เรื่องเบาหวาน
ควบคุมอาหาร รับประทานสม่ำเสมอ
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
วัดผลการควบคุม
พบแพทย์ตามนัด และใช้ยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากยาเบาหวานบางชนิดมักมีอาการต่อไปนี้:
รู้สึกไม่สบายเฉียบพลัน
หิวมาก มือสั่น เหงื่อออกมาก ตัวเย็น เห็นภาพซ้อน
หน้าซีด พูดไม่ชัก
กรณีรุนแรงมากอาจซัก หมดสติ
ถ้าเกิดเวลากลางคืน ผู้ป่วยบางรายอาจไม่ตื่นขึ้นมา

การป้องกัน

รับประทานอาหารให้ตรงต่อเวลาและจำกัดปริมาณอาหารแต่ละมื้อให้พอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไป
ฉีดยา และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ทั้งปริมาณและให้ตรงตามเวลาที่ควรได้รับ
ปรึกษาแพทย์ในกรณีที่ต้องรับประทานยาสำหรับโรคอื่น ๆ ร่วมด้วยเพราะยาเหล่านั้นอาจมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
ควรมีน้ำผลไม้ ลูกกวาด น้ำตาลก้อนติดตัวไว้กรณีฉุกเฉิน

ติดตามเรื่องราวดๆได้ที่ babe369.com